วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประติมากรรมไทย

ประติมากรรมเป็นผลงานทางศิลปะที่มีรูปทรง 3 มิติ คือ มีความสูงความกว้างและความนูนหรือลึก เกิดขึ้นจากการปั้นหล่อ แกะ สลัก ฉลุ หรือดุนตั้งแต่โบราณมา บรรพบุรุษไทยได้สร้างผลงานทางประติมากรรมขึ้น เพื่อแสดงออกถึงจินตนาการ ความรู้สึกความเชื่อ และความต้องการที่จะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงออกของความสามารถทางด้านศิลปะ อันเป็นสุนทรียภาพของตนด้วย

การสร้างประติมากรรมนี้ ผู้สร้างจะต้องคำนึงองค์ประกอบทางศิลปะหลายประการเพื่อช่วยให้ผลงานมีความงดงาม และสามารถสร้างความรู้ สึกต่างๆ ให้เกิดขึ้นแก่ผู้ชม เช่น การใช้เส้นที่คดโค้งหรืออ่อนช้อยความกลมกลึง ความมันวาว ความนูนและความเรียบ เกลี้ยงของ พื้นผิว สามารถกระตุ้นความรู้สึกละเอียดอ่อนของผู้ชม สื่อให้รู้ถึงความอิ่มเอิบและความสมบูรณ์พูนสุข แสงและเงาที่สะท้อนได้ฉากและมุมที่พอเหมาะช่วยสร้างบรรยากาศให้ได้ความรู้สึกที่ต้องการ

การสร้างและจัดงานประติมากรรมให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม เช่น เหมาะกับขนาดของสถานที่ ฐานที่ตั้งและวัสดุอื่น ๆ สามารถช่วยให้ ประติมากรรมนั้นดูเด่น เป็นสง่า น่าเคารพ และน่านับถือ นอกจากนั้น การเลือกใช้วัสดุและเทคนิคการประดับตกแต่งที่เหมาะสมก็จะช่วยให้เกิดความ วิจิตรงดงาม เพิ่มคุณค่างานประติมากรรมไทยขึ้นด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการสร้างงานประติมากรรมแต่ละชิ้นต้องใช้ความสามารถของช่างทางด้านศิลปะอย่างมาก

ประติมากรรมรูปเคารพที่คนไทยสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชา มักทำเป็นรูปคน เช่น เทวรูป พระพุทธรูป หรือรูปสัญลักษณ์ เช่น ใบเสมา ธรรมจักร และกวางหมอบ และรอยพระพุทธบาท ประติมากรรมรูปคนถือเป็นประติมากรรมที่สำคัญที่สุด พระสะท้อนความเชื่อ และความผูกพันระหว่างสังคมไทยกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง มีมานานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน

ประติมากรรมตกแต่ง เป็นประติมากรรมที่ใช้ตกแต่งศิลปสถานและศิลปวัตถุต่างๆ ให้เกิดคุณค่าทางความงามและวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น ที่เราพบมากได้แก่ การแกะสลักลวดลายต่างๆ ลงบนสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ตู้ โต๊ะ ตั่ง เตียง ถ้วย ชาม ฯลฯ และการประดับสถานที่ต่าง ๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ปราสาทราชวัง ด้วยลายปูนปั้นและรูปปั้นต่างๆ

ประติมากรรมของไทย นอกจากจะสะท้อนแบบแผนทางวัฒนธรรมแล้ว ยังสะท้อนความเชื่อต่างๆ อีกด้วย เช่น รูปหล่อโลหะสัตว์หิมพานต่าง ๆ ในวัด นับ ว่าสะท้อนความเชื่อ ทางพุทธศาสนาในเรื่องไตรภูมิ

นอกจากนั้นประติมากรรมบางอย่าง มีวัตถุประสงค์ที่จะเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้ผู้ชมได้ทราบด้วย เช่น ประติมากรรมแกะสลักแผ่นหินอ่อนเรื่องรามเกียรติ์ประดับพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประติมากรรมปูนปั้นเรื่องทศชาติประดับหน้าพระอุโบสถวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น

ประติมากรรมอีกประเภทหนึ่งเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่น การสลักดุนภาชนะเครื่อง ใช้ขนาดเล็กด้วยลวดลายต่างๆ การแกะสลักเครื่องดนตรี

การนำกระดาษมาสร้างเป็นหัวโขน การนำดินมาปั้นเป็นเครื่องเล่นต่าง ๆ เช่น ตุ๊กตา ตัวหมากรุก หรือนำวัสดุต่าง ๆ มาประดิษฐ์เป็นเครื่องตก แต่งชั่วคราว เช่น การสลัก ผักผลไม้การสลักหยวกกล้วย และการสลักเทียนพรรษา เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ประติมากรรมเป็นงานศิลปะที่มีคุณค่าและประโยชน์หลายด้านบรรพบุรุษของไทยได้ริเริ่มและวางแผนงานประติมากรรมของไทยมานานแล้ว เนื่องจากประติมากรรมของไทยได้ผ่านการหล่อหลอมและผสมผสานทางวัฒนธรรมมาอย่างชาญฉลาดไทยจึงยังคงสามารถรักษารูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยได้อย่างเด่นชัด

ในระยะหลังตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา ความเจริญของประเทศทางตะวันตกได้หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยทำให้เกิดแนวคิดใหม่ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ

งานศิลปะมิได้สร้างขึ้นเพียงเพื่อแสดงออกถึงความเชื่อทางศาสนาเท่านั้น แต่สามารถสร้างขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์ด้วยดังนั้น การสร้างอนุสาวรีย์ การทำรูปปั้นและเหรียญตราต่างๆ จึงได้เกิดขึ้น บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อวงการศิลปกรรมไทยสมัยใหม่ ทุกสาขาคือ ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ศิลปินผู้ปั้นรูปอนุสาวรีย์สำคัญๆ ของชาติจำนวนมาก เช่น พระบรมรูปรัชกาลที่ 1 พระบรมรูปรัชกาลที่ 6 เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475

งานศิลปกรรมซึ่งแต่เดิมอยู่ในความดูแลของราชสำนัก ก็ได้เปลี่ยนไปอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ซึ่งต่อมาได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 จัดให้มีการเรียนการสอนทางด้านศิลปกรรมสาขาต่างๆ ปัจจุบันงานประติมากรรมของไทยได้เข้าสู่ยุคของศิลปะร่วมสมัย ซึ่งศิลปินมีอิสระภาพทั้งทางด้านความคิด เนื้อหาสาระ เทคนิค และรูปแบบการแสดงออก สุดแท้แต่จินตนาการและความสามารถของศิลปินผู้สร้าง

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประติมากรรม (Sculpture)

ประติมากรรม (Sculpture)


เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรมจะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงาที่เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ


1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัว กันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้นได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น
2. การแกะสลัก (Carving)เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา (ชิต เหรียญประชา)
4. การประกอบขึ้นรูป (Construction)เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่างๆ การเลือกวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการใช้ประติมากรรม ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีใด จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูงและแบบลอยตัว ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า ประติมากร

ประเภทของงานประติมากรรม

1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง รองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด
2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ
3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ

สุนทรียศาสตร์ หรือ Aesthetics

สุนทรียศาสตร์ หรือ Aesthetics

Aesthetic สุนทรียภาพ กล่าวทางศิลปะหมายถึง ความรู้สึกโดยธรรมดาของคนเราทุกคนซึ่งรู้จักค่าของวัตถุที่งาม ความรู้สึกที่งามเป็นสุนทรียภาพนี้ ย่อมเป็นไปตามอุปนิสัย การอบรมและการสึกษาของแต่ละบุคคล ซึ่งเรียกรวมกันว่ารส (taste) เพราะฉะนั้น ความรู้สึกนี้จึงอาจมีแตกต่างกันได้มาก แม้ระหว่างบุคคลต่อบุคคล ซึ่งความรู้สึกเบื้องต้นของความงามที่เป็นสุนทรียภาพ ถ้าเจริญคลี่คลายขึ้นแล้วก็จะเปิดช่องให้ประสาทอินทรีย์รู้สึกชื่นชมยินดี คือรู้คุณค่าของวิจิตรศิลป์ (fine arts) ขึ้นได้ เพราะฉะนั้นความงามที่เป็นสุนทรียภาพจึงได้แก่อินทรีย์คสามรู้สึกของบุคคล ซึ่งอาจเจริญงอกงามได้ด้วยอาศัยการฝึกฝนในการอ่าน การฟัง และการพินิจดูสิ่งที่งดงามเจริญใจไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งธรรมชาติหรือเป็นศิลปะ ดังเช่น ผู้ใดได้มองหรือเห็นสิ่งที่น่าเกลียด ก็มีความรู้สึกไม่พอใจขึ้นเองโดยไม่รู้สึกตัว ทั้งนี้เป็นเพราะประสาทอินทรีย์ของผู้นั้นเกิดระคายเคืองขึ้นเองจากความไม่ประสานกันของสิ่งนั้นๆ ตรงกันข้ามถ้าเราได้ยินเสียงที่ไพเราะ หรือมองดูสิ่งที่งาม ความรู้สึกอิ่มเอิบใจก็จะเข้าครอบงำเป็นเจ้าเรือนในดวงใจของเราทันที
อันที่จริงบุคคลที่มีความรู้สึกเจริญคลี่คลายดีแล้วในเรื่องรู้รสรู้ค่าของศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นเพราะมีอุปนิสัยหรือการศึกษามาดีแล้ว เมื่อได้อ่านได้ฟังหรือได้มองดูสิ่งซึ่งมีการประจักษ์ทางศิลปะอย่างสูง คือ ศิลปกรรมที่เลิศแล้วก็สามารถจะเข้าใจได้อย่างซาบซึ้งถึงความรู้สึกสะเทือนใจทางสุนทรียภาพ (aesthetic emotion) เหตุฉะนั้นสุนทรียภาพในทางศิลปะจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะมีสัมพันธ์อยู่กับประสาทอินทรีย์ความรู้สึกของศิลปินและกับทั้งศิลปกรรมด้วย
ยกตัวอย่าง เมื่อเราสังเกตเห็นลักษณะ การวางท่าทาง (posture) ของรูปรูปหนึ่ง “หยาบคาย” ไม่ละมุนละม่อม แม้รูปนั้นจะมีวิธีทำและมีการแสดงออก (expression) ทางศิลปะอย่างสมบูรณ์ แต่เราจะรู้สึกรู้ค่าในศิลปกรรมนั้นเต็มที่ไม่ได้ เพราะเส้นนอกของรูปภาพนั้นไม่เป็นสุนทรียภาพ กล่าวคือ ไม่มีความประสานกัน
อีกตัวอย่างหนึ่ง รูปภาพหรือหนังสือที่ประพันธ์ขึ้น หรือการประจักษ์อย่างอื่นๆ ทางศิลปะที่ไม่สมควร ทำให้เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ ก็คือวาดหรือพรรณนาถึงสิ่งที่หยาบคายไม่ละมุนละม่อม แม้วาดหรือพรรณนาได้ดีเท่ากับถอดเอาออกมาจากของจริง แต่โดยเหตุที่มีลักษณะในตัวของมันองต่ำเราก็อาจกล่าวได้ว่า ไม่เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้มีปัญญาเกิดสนใจ ตรงกันข้าม พระพุทธรูปที่งาม หรือเทวรูปกรีก หรือศิลปกรรมอื่นๆที่เลิศ เมื่อดู อ่าน หรือฟังแล้วย่อมน้อมนำใจเราให้สู่ความคิดสูง ให้เรามีความรู้สึกสะเทือนใจในความงามขึ้นทันที เปรียบปรัดุจเป็นอำนาจของแม่เหล็กครอบงำอินทรีย์ความรู้สึกของเราทั้งหมด ทั้งนี้ก็เพราะ วัตถุที่เราดูหรืออ่าน หรือเสียงที่เราได้ยินอยู่นั้น เข้าไปสัมพันธ์อยู่กับความปรารถนาทางจิตใจของเรา ทำให้เราใฝ่แสวงหาแต่สิ่งที่มีคุณงามความดีอันสูง แท้จริงความรู้สึกสะเทือนใจที่เกิดขึ้นในจิตใจของเรา อันเนื่องมาแต่สุนทรียภาพที่มีอยู่ในสิ่งนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะความงามหรือความประณีตบรรจง
ที่มีอยู่เท่านั้นโดยลำพัง เพราะศิลปกรรมที่เลิศ ซึ่งนอกจากมีองค์ประกอบและวิธีทำที่สมบูรณ์แล้ว ยังต้องมีการแสดงความคิดสูง อันได้แก่ความคิดที่ยกจิตใจของผู้พินิจ ผู้อ่าน ผู้ฟัง ผู้ดูงานศิลปกรรม

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถามอาจารย์

1. สุนทรียศาสตร์ คืออะไร

ตอบ = เป็นวิชาที่ว่าด้วยความงามอาจเป็นสิ่งลึกซึ้งที่มีอยู่ในทุกสิ่ง อาจจะเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรืออาจจะเป็นคุณสมบัติในทางศีลธรรมหรือสิ่งที่โน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม ความงามอาจมีอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเอง ทั้งสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ ความงาม ความงามในธรรมชาติและความงามในผลงานที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นเป็นงานศิลปกรรม

2.สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ = 1. ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงาม อย่างสมเหตุสมผล
2. ช่วยกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี อย่างมีเหตุมีผล
3. เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
4. ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งและการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน

3.สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
ตอบ = ทำให้พยาบาลใช้กระบวนการคิดการตัดสินในความงามในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างมีเหตุมีผลและทำให้พยาบาลมีจิตใจที่อ่อนโยนมองโลกในแง่ดีและมองโลกอย่างกว้างขวาง วิชาชีพพยาบาลสามารถนำสุนทรียศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันด้วยเหตุและผลในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย









อาจารย์ผู้สอนวิชาสุนทรียศาสาตร์คือ อาจารย์วิวรรธ์ จันทร์เทพ













ประติมากรรมไทย
ประติมากรรม ไทยส่วนใหญ่ มีจุดประสงค์ในการสร้างขึ้น ด้วยศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จาก พระพุทธรูป ในสมัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปั้น หล่อ หรือแกะสลัก อีกส่วนหนึ่งสำหรับใช้เป็นเครื่องประกอบ ตกแต่งปราสาทราชวังและเครื่องใช้ต่างๆ สำหรับพระมหากษัตริย์ประติมากรรมไทยแบ่งได้เป็นสาม ลักษณะใหญ่ๆ คือ 2.1 ลักษณะนูนต่ำ (Bas Relief) คือผลงานที่มองได้ด้านเดียว แสดงความตื้นลึกของภาพ โดยมีความสูงต่ำ เพียงเล็กน้อย เช่น ลวดลายปูนปั้นบนสถูป และลายแกะสลักต่างๆ เป็นต้น 2.2 ลักษณะนูนสูง (High Relief) สามารถมองเห็นได้ 3 ด้าน คือด้านหน้า และด้านข้างอีก ๒ ด้าน โดยมีความตื้นลึกที่แตกต่างกันมาก จนเห็นได้ชัดเจน เช่น ลายปูนปั้นบนหน้าบัน 2.3 ลักษณะลอยตัว (Round Relief) สามารถมองเห็นได้รอบด้าน เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ต่างๆ รวมถึงเครื่องปั้นดินเผาด้วย ประติมากรรมสมัยสุโขทัย เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800-1918 เมืองสำคัญทางศิลปสมัยสุโขทัยมีเมืองสุโขทัย เก่า กำแพงเพชร และศรีสัชนาลัยปรากฏโบราณสถานใหญ่โต มีศิลปวัตถุเป็นจำนวนมาก ชาวสุโขทัยนับถือพุทธศาสนายุคแรกตามแบบสมัยลพบุรี คือ พุทธศาสนาแบบมหายาน ภายหลังพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แพร่ขยายเข้ามาในสมัยพ่อขุนรามคำแหง วัสดุที่นำมาสร้างประติมากรรมมี ปูนเพชร ดินเผา ไม้ โลหะสำริด และทองคำ แบบอย่างของประติมากรรมสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 4 ยุค คือ ยุคที่ 1 ประติมากรรมยุคนี้ยังแสดงอิทธิพลของศิลปะลพบุรีที่เห็นได้ชัด คือ ภาพปูนปั้นลวดลายประดับประตูรั้วทางเข้าองค์ปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ การสร้างพระพุทธรูปในยุคนี้มีแบบเฉพาะเป็นของตนเองที่เรียกกันว่า "แบบวัดตระกวน" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ลังกา และสุโขทัย ผสมผสานกัน พระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นแบบลังกา พระวรกายและชายสังฆาฏิสั้นแบบเชียงแสน ยุคที่ 2 ในยุคนี้ฝีมือการสร้างประติมากรรมของช่างไทยเชี่ยวชาญขึ้น พัฒนารูปแบบการสร้างพระพุทธรูปจนก่อเกิดรูปพุทธลักษณะอันงดงามของสกุลช่างสุโขทัยเอง ยังเป็นศิลปะสุโขทัยแบบบริสุทธิ์ ในยุคนี้มีการสร้างพระพุทธรูปไว้มากมายตั้งแต่พระพุทธรูปขนาดใหญ่ เช่น พระอัฏฐารส พระอัจนะ จนถึงพระบูชาขนาดเล็ก และพระพิมพ์ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปนูนต่ำนูนสูงประดับภายในซุ้มมณฑปหรือพระเจดีย์เป็นจำนวนมาก สมดังศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า "กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม " พระพุทธรูปสุโขทัยไม่นิยมสลักหิน แม้จะเป็นพระพุทธรูปขนาดสลักหิน นิยมปั้นด้วยปูนหรือหล่อด้วยโลหะมีค่าต่างๆ รวมทั้งทองคำบริสุทธิ์ ลักษณะพระพุทธรูปสุโขทัยยุคนี้ คือ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระเศียรสมส่วนกับพระศอและพระอังสา หมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอุระผายสง่า พระอังสาใหญ่กว้าง พระถันโปน ปั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวจรดมาถึงพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระกรเรียวดุจงาช้าง นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาททำแบบธรรามชาติ ดุจมีชีวิต ฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง ปางที่นิยมคือ ปางมารวิชัย และปางลีลา องค์พระพุทธรูปปางลีลาที่งดงามปัจจุบันประดิษฐานที่ระเบียงคด วัดเบญจมบพิตร ยุคที่ 3 การปั้นพระพุทธรูปยุคนี้พัฒนาไปจากศิลปะสุโขทัยแบบบริสุทธิ์ มีความประณีต มีระเบียบและกฎเกณฑ์มากขึ้น พระรัศมีเป็นเปลวมีขนาดใหญ่ขึ้น พระพักตร์รูปไข่สั้น พระอุณาโลมเป็นตัวอุหงายระหว่างหัวพระขนง พระวรกายมีความอ่อนไหวน้อยลง พระอาการสงบเสงี่ยมแลดูนิ่งสงบขึ้น พระกรยาว นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่เสมอกัน ฝ่าพระบาทเรียบสั้น พระบาทยาว พระพุทธรูปที่สำคัญๆ ในยุคนี้ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระศรีศากยมุนี เป็นต้น ยุคที่ 4 เป็นยุคที่ประติมากรรมสมัยสุโขทัยถูกกลืนไปกับอิทธิพลของศิลปสมัยอยุธยาเมื่อราชวงศ์พระร่วงสิ้นสุดลงในพ.ศ. 1981 นับเป็นยุคสุโขทัยเสื่อม แม้มีการสร้างศิลปะในชั้นหลังก็เป็นสกุลศิลปะเล็กๆ พระพุทธรูปมีลักษณะกระด้างขึ้นทั้งอิริยาบท และทรวดทรง มักสร้างพระพุทธรูปยืน พระสำคัญในยุคนี้เช่น พระอัฎฐารส วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแบ่งแบบอย่างพระพุทธรูปซึ่งสร้างในสมัยสุโขทัยเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง มักทำดวงพระพักตร์กลมตามแบบพระพุทธรูปลังกา เช่น พระอัฏฐารสในวิหารวัดสระเกศ กลุ่มที่สอง เมื่อฝีมือช่างเชี่ยวชาญขึ้นคิดแบบใหม่ ทำดวงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เช่นพระร่วงโรจนฤทธิ์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเชิญไปไว้ที่พระปฐมเจดีย์ และพระสุรภีพุทธพิมพ์ที่เป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถวัดปรินายก พระพุทธรูปที่สร้างแบบนี้มีมากกว่ากลุ่มแรก กลุ่มที่สามสันนิษฐานว่าเห็นจะเป็นในรัชกาลพระมหาธรรมราชาพญาลิไทย ซึ่งในตำนานกล่าวว่า ทรงเป็นพระราชธุระบำรุงกิจในพระศาสนายิ่งกว่าในรัชกาลก่อนๆ โปรดให้เสาะหาช่างที่มีฝีมือดีทั้งในอาณาเขตลานนาและอาณาเขตข้างฝ่ายใต้มาประชุมปรึกษากัน และทรงสอบสวนหาหลักฐานพุทธลักษณะในคัมภีร์พระไตรปิฎกประกอบ จึงเกิดแบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ดวงพระพักตร์เป็นทำนองผลมะตูมคล้ายแบบอินเดียเดิมแต่งามยิ่งนัก และแก้พุทธลักษณะแห่งอื่น เช่น ทำปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้งสี่นิ้ว เป็นต้น แบบพระพุทธรูปเช่นนี้ทำกันแพร่หลายขึ้นไปจนถึงเมืองเหนือ และลงมาข้างใต้ แต่ที่ทำได้งามเหมือนองค์พระพุทธรูปที่เป็นต้นตำรามีน้อย


http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/art2.htm

พระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ทำในสมัยสุโขทัย ดูเหมือนจะไม่มีทำพระปางอย่างอินเดีย มีปางพุทธอิริยาบท คือ พระนั่ง พระนอน พระยืน พระเดิน พระนั่งทำปางมารวิชัยกับสมาธิ นั่งขัดสมาธิราบทั้งสองอย่าง พระนอนไม่ถือว่าเป็นปางนิพพานอย่างอินเดีย พระยืนมีแต่ปางประทานอภัย ยกพระหัตถ์ข้างเดียวบ้างสองข้างบ้าง สมมุติเรียกกันว่า ปางห้ามสมุทรและปางห้ามญาติ พระเดินไม่ถือว่าเป็นปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ไม่ทำปางพระกรีดนิ้วพระหัตถ์แสดงเทศนา พระพุทธรูปแบบสุโขทัยทำชายจีวรยาว พระรัศมีเป็นเปลว พระแบบที่สร้างสอลกลุ่มแรกนิ้วพระหัตถ์ไม่เท่ากันทั้งสี่นิ้ว แบบบัวรองพระพุทธรูปเป็นอย่างสุโขทัยไม่เหมือนกับบัวเชียงแสน จากหลักฐานที่พบในเมืองสวรรคโลก สุโขทัย และกำแพงเพชร ชั้นเดิมสร้างเป็นพระก่อแล้วปั้นประกอบเป็นพื้น มาถึงชั้นกลางและชั้นหลังจึงชอบสร้างพระหล่อ ข้อนี้มีที่สังเกตตามวัดในเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย นอกจากนี้ที่เป็นวัดสำคัญ พระประธานที่เป็นพระปั้นยังอยู่โดยมาก แต่วัดสำคัญในเมืองพิษณุโลก สุโขทัย และกำแพงเพชร มักไม่มีพระประธานเหลืออยู่ ด้วยเป็นพระหล่อเชิญมาไว้ที่กรุงเทพ ฯ ในสมัยรัตนโกสินทร์โดยมาก เช่น พระศรีศากยมุนีที่พระวิหารวัดสุทัศน์ พระพุทธชินสีห์ที่วัดบวรนิเวศ และพระอัฏฐารส ที่วิหารวัดสระเกศ เป็นต้น พระพิมพ์ก็ชอบสร้างในสมัยสุโขทัยเหมือนสมัยอื่น แต่แปลงมาเป็นพระพุทธรูปตามคติหินยาน ทำต่างพุทธอิริยาบท มักชอบทำพระลีลา เรียกกันสามัญว่า "พระเขย่ง" อีกอย่างหนึ่งก็ทำเป็นพระนั่ง แต่หลาย ๆ สิบองค์ในแผ่นพิมพ์อันหนึ่ง ในพ.ศ. 2494 หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์และนาย A.B. Griswold ได้แบ่งหมวดหมู่พระพุทธรูปสุโขทัยออกเป็น 5 หมวด คือ 1. หมวดใหญ่ตรงกับหมวดชั้นกลางที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ จัดเป็นแบบที่งามที่สุด 2. หมวดกำแพงเพชร ลักษณะเหมือนหมวดใหญ่ พระพักตร์สอบจากตอนบนลงมาหาตอนล่างมาก พบสร้างมากที่กำแพงเพชร 3. หมวดพระพุทธชินราช ตรงกับหมวดที่สามที่ทรงกล่าว 4. หมวดพิษณุโลกชั้นหลัง ลักษณะทรวดทรงยาว แบบจืดและแข็งกระด้าง จีวรแข็ง มักทำพระยืน เป็นพระพุทธรูปสุโขทัยชั้นหลัง เมื่อตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาแล้ว 5. หมวดเบ็ดเตล็ด หมายถึงพระพุทธรูปแบบสุโขทัยซึ่งเข้ากับ 4 หมวดข้างต้นไม่ได้ รวมทั้งแบบวัดตระกวนซึ่งมีลักษณะเป็นพระเชียงแสน ลังกา และสุโขทัย ผสมกัน แบบวัดตระกวนนี้อาจจัดเข้าอยู่ในหมวดชั้นแรกซึ่งมีวงพระพักตร์กลม ต่อมานายกริสโวลด์ ได้แบ่งพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยออกเป็นเพียง 3 หมวดคือ 1. Pre-classic ซึ่งตรงกับหมวดที่ 1 ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2. High-classic ซึ่งตรงกับหมวดที่สองของสมเด็จ ฯ 3. Post-classic ซึ่งตรงกับหมวดที่สามของสมเด็จ ฯ ในหมวดที่สามนี้นายกริสโวลด์ได้พบพระพุทธรูป 5 องค์ ซึ่งมีจารึกบอกศักราชที่หล่อขึ้น องค์หนึ่งอยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม ธนบุรี หล่อขึ้นในพ.ศ. 1963 หรือ 1966 อีก 4 องค์อยู่ที่จังหวัดน่านหล่อขึ้นเมื่อพ.ศ. 1970 นอกจากการสร้างพระพุทธรูปแล้วสมัยสุโขทัยยังนิยมทำภาพปูนปั้นเพื่อประกอบงานสถาปัตยกรรมและงานอื่นๆ จำนวนมาก โดยทำขึ้นหลายรูปแบบทั้งสวยงาม แปลกประหลาดและตลกขบขัน ตัวอย่างลวดลายปูนปั้นที่งดงามมีอยู่มากมาย เช่น ลายปูนปั้นที่วัดมหาธาตุ อำเภอเมืองสุโขทัย เป็นเรื่องพุทธประวัติแสดงปางประสูติ ปรินิพพาน ลายปูนปั้นที่วัดนางพญา อำเภอศรีสัชนาลัย เป็นลายดอกไม้ ลายปูนปั้นที่วัดช้างล้อม อำเภอศรีสัชนาลัย ปั้นเป็นรูปช้างรายรอบฐานพระเจดีย์ ลายปูนปั้นที่วัดตระพังทองหลาง เป็นเรื่องพุทธประวัติแสดงปางเสด็จจากดาวดึงส์



http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/art2.htm